anywheremag.png
  • HOME

  • UPDATE AND NEWS

  • EAT

  • Review_November 2017

  • SUBSCRIBE

  • ABOUT

  • CONTACT US

  • More

    anywheremag.png
    • HOME

    • UPDATE AND NEWS

    • EAT

    • Review_November 2017

    • SUBSCRIBE

    • ABOUT

    • CONTACT US

    • More...

      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
      Special Scoop : นงลักษณ์ พรหมปลูก | Photo : ฉัตรชัย
      เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  12 สิงหาคม 2560 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา 
      ​
      นิตยสาร anywhere น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ นำเสนอบทความพิเศษนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้สัมผัสความรักของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย จึงขอนำเสนอโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ในส่วนหนึ่ง
      _DSC0091

      _DSC0091

      _DSC0136

      _DSC0136

      _DSC0093

      _DSC0093

      1/3
      โดยเฉพาะทางด้านผ้าไทยและ"ตรานกยูงพระราชทาน" ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญลักษณ์นี้ให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย จำนวน 4 ชนิด เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 ได้แก่
      ​

      1.นกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) เป็นผ้าไหมที่ผลิตโดยใช้เส้นไหมและวัตถุดิบตลอดจนกระบวนการผลิตที่เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอย่างแท้จริง

      ​

      2.นกยูงสีเงิน (Classic Thai Silk) เป็นผ้าไหมที่ผลิตขึ้นโดยยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านผสมผสานกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือและกระบวนการผลิตในบางขั้นตอน

      ​

      3. นกยูงสีน้ำเงิน (Thai Silk) เป็นผ้าไหมชนิดที่ผลิตด้วยภูมิปัญญาของไทยแบบประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตเข้ากับสมัยนิยมและเชิงธุรกิจ

      ​

      4.นกยูงสีเขียว (Thai Silk Blend) เป็นผ้าไหมที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาไทยในด้านลวดลายและสีสันระหว่างเส้นใยไหมแท้กับเส้นใยอื่นที่มาจากธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์รูปแบบต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน หรือตามความต้องการของผู้บริโภค

      _DSC0116

      _DSC0116

      _DSC0071

      _DSC0071

      _DSC0098

      _DSC0098

      1/3
      ต่อมามีการจัดตั้งสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงได้รับโอนสิทธิหรือรับมรดกสิทธิเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 และเมื่อมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ได้ยกฐานะจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขึ้นเป็นกรมหม่อนไหม จึงได้มีการขอโอนสิทธิหรือรับมรดกสิทธิเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 จากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
       
      ซึ่งมาดำเนินการต่อโดยกรมหม่อนไหมยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการรับรองผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานให้แพร่หลายทั่วโลก จึงได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานในต่างประเทศอีก 35 ประเทศได้แก่ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จำนวน 27 ประเทศ จีน นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง
      เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และน้อมรำลึกและสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาฯ กรมหม่อนไหม  จึงได้จัด โครงการประกวดลวดลายผ้าเทิดพระเกียรติฯ  ที่จัดแสดงในงานตรานกยูงพระราชทาน ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ประกวดทายาทหม่อนไหมในระดับสถานศึกษา ประกวดการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบลวดลายผ้า โดยกรมหม่อนไหมได้จัดทำบันทึกความร่วมมือโครงการพัฒนาลวดลายผ้าและผลิตภัณฑ์ไหมไทยกับสถาบันการศึกษา 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อสืบสานงานผ้าไหมไทยที่เป็นเอกลักษณ์  มีความโดดเด่น ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ในการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา การวิจัย การเพิ่มพูนทักษะ 
      โดยการนำภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมในแต่ละท้องถิ่นมาประยุกต์พัฒนาและต่อยอด ผ่านกระบวนการออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การจัดกิจกรรมการประกวดเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานลวดลายผ้าไหมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา จาก 6 มหาวิทยาลัยที่ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ เข้าร่วมประกวดและเผยแพร่ผลงานสะท้อนภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ในหัวข้อ “สร้างสรรค์ผลงานลวดลายผ้า เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมของไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมให้แก่เยาวชน
      _DSC0067
      _DSC0105
      _DSC0084
      _DSC0082
      _DSC0039
      _DSC0042
      รางวัลชนะเลิศได้แก่ ลาย “พรจากฟ้า” ผู้สร้างสรรค์ผลงาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เกษตรกร - กลุ่มทอผ้าไหมบ้านโคกล่ามหมู่ 10  อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการพระราชดำริฝนหลวง ที่ทรงคิดค้นเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งของชาวอีสาน เปรียบเสมือนพรจากฟากฟ้าที่พลิกฟื้นทุกผืนหญ้าให้ฉ่ำเย็น ลวดลายบนผืนผ้า ประกอบไปด้วยแม่ลายเอกลักษณ์ประจำพื้นถิ่นบ้านโคกล่าม ตำบลหนองบัว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีลายดอกจิกมาจากผ้าทอมัดหมี่ลายดอกจิกที่เป็นลายประจำหมู่บ้าน ผสมผสานลายดอกบัว ที่คิดขึ้นใหม่จากการที่ตำบลหนองบัว  เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคและความคิดสร้างสรรค์โดดเด่น จึงคว้ารางวัลนี้ไป
      _DSC0156

      _DSC0156

      _DSC0158

      _DSC0158

      _DSC0125

      _DSC0125

      1/4

      ส่วนอันดับ 2 ชื่อลาย “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” โดยคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ (เกษตรกร - กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสวนมอญ อำเภอจตุรพักพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด) อันดับที่ 3 ชื่อลาย  “ธ สถิตในดวงใจ (STILL ON MY MIND)” โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกษตรกร – กลุ่มผู้ผลิตเส้นไหม GI บ้านหนองเจริญ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี)

      ​

      นอกจากนี้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ยังมีอีกมากมาย อาทิ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี, สถานีพัฒนาเกษตรที่สูง บ้านสะจุก-สะเกี้ยง จังหวัดน่าน, ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี, พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง, ศูนย์ตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จ จ.อ่างทอง, ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง, โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงดอยม่อนล้านอ. พร้าว จ.เชียงใหม่, โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านรอตันบาตู ต.กะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส, โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ฯ และโครงการป่ารักน้ำ บ้านถ้ำติ้ว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร เป็นต้น

      ​

      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เบื้องต้นนี้ ล้วนเป็นโครงการที่ทรงทุ่มเวลาในชีวิตของพระองค์เพื่อประชาชน และประเทศชาติ